วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ว่านเศรษฐี

ว่านเศรษฐีเรือนแก้ว ว่านเศรษฐีเรือนนอกใบใหญ่ Chlorophytum ‘Chrolotte’

ว่านเศรษฐีเรือนใน Chlorophytum comosum ‘Vittatum Group’ Orange stem

ว่านเศรษฐีเรือนใน Chlorophytum comosum ‘Vittatum Group’ Creammy Stem



ว่านเศรษฐีจักรพรรดิ์ Chlorophytum comosum ‘Ocean’

ว่านเศรษฐีเรือนกลาง Chlorophytum comosum ‘Picturatum’

ว่านเศรษฐีก้านทอง Chlorophytum amaniense

ลักษณะทั่วไปของว่านเศรษฐี Chlorophytum

พืชสกุลนี้มีประมาณ 200-220 ชนิด เป็นไม้พุ่มอายุยืน มีถิ่นกำเนิดในเขตกึ่งร้อน หรือ เขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชีย มีความสูง 10-60 เซนติเมตร ใบขึ้นเป็นกอ ใบรูปแถบ รูปหอก หรือรูปไข่ เรียวยาว 15-75 เซนติเมตร และกว้าง 0.5-2 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อแบบ racemes หรือ panicles สามารถยาวได้ถึง 120 เซนติเมตร บางชนิดปลายช่อดอกสามารถสร้างส่วนขยายพันธุ์พิเศษเป็นต้นย่อย สามารถใช้แพร่พันธุ์ ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีขาว มี 6 กลีบ รากฝอยบางครั้งอาจพองบวมเพื่อสะสมน้ำและอาหาร
การจำแนกชนิดและสายพันธุ์สกุล Chlorophytum ที่นิยมปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับ มี 3 ชนิด ดังนี้
Chlorophytum amaniense ว่านเศรษฐีก้านทอง ชื่อพ้อง Chlorophytum orchidantheroides, C. orchidastrum, C. filipendulum amaniense มีชื่อสามัญว่า Fire Flash, Fire Glory, Mandarin Plant, Tangerine, Sierra, Leone Lily จัดเป็นว่านเศรษฐีอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยง โดยถูกนำเสนอสู่การค้าได้ประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านมา มีถิ่นกำเนิดในเขตป่าฝนของแอฟริกาตะวันออกในเทือกเขาอูแซมบาร้า (Usambara) ประเทศแทนซาเนีย เป็นไม้พุ่มตลอดปี เจริญเป็นกอ สูงตามธรรมชาติ 45-60 เซนติเมตร ใบสีเขียว เป็นมันเล็กน้อย รูปไข่ถึงรูปหอก ยาว 25-30 เซนติเมตร กว้าง 5-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ก้านใบและเส้นก้านใบมีสีส้ม ดอกออกเป็นช่อแบบ panicle ที่ตรงกลางต้น ดอกจริงมีสีขาวขนาดเล็ก ผลสีเขียวมี 3 พู เมล็ดเล็กและแบน สีดำ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
Chlorophytum laxum ‘Bichetii’ ว่านเศรษฐีเรือนนอก ชื่อพ้อง C. bichettii มีชื่อสามัญว่า St. Bernard’s Lily เป็นว่านเศรษฐีอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยง เป็นพืชที่นำเข้ามาปลูกเลี้ยงมาอย่างช้านาน มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศกาบอง ต้นเป็นเหง้าสั้นๆ บริเวณผิวดิน รากมักจะมีตุ้มสีขาวสำหรับสะสมน้ำและอาหาร ใบรูปแถบแกมหอกยาว 10-20 เซนติเมตร มีลายเส้นสีขาวอมเหลืองครีม ตามยาว โดยเฉพาะบริเวณขอบใบ ช่อดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ชอบแสงแดดปานกลางถึงรำไร ขยายพันธุ์โดยการแยกกอ
Chlorophytum comosum เศรษฐีเรือนใน ชื่อพ้อง Chlorophytum beniense, C. carpense, C. elatum. C. mandaianum, C. pictulatum, C. vittatum, Anthericum comosum, A.mandaianum มีชื่อสามัญว่า Spider Plant, Airplan Plant, Hen-and-Chickens, Ribbon plant, Spider Ivy, Walking Athericum เป็นว่านเศรษฐีที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงมากที่สุด เป็นพืชที่นำเข้ามาปลูกเลี้ยงพร้อมๆ กับกลุ่มว่านเศรษฐีเรือนนอก มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้ ต้นมีขนาดเล็กมากแตกใบขึ้นเป็นพุ่มสูง 25-30 เซนติเมตร ชอบแสงรำไร ลักษณะลวดลายของใบทำให้สามารถจำแนกได้ดังนี้
1) ว่านเศรษฐีกลุ่มใบเขียว Chlorophytum comosum Common Green Group เป็นว่านเศรษฐีเรือนในที่มีสีเขียวทั้งแผ่นใบ นิยมเรียกว่า ว่านเศรษฐีเรือนแก้ว หรือ ว่านเศรษฐีเรือนกลาง
2) ว่านเศรษฐีเรือนใน C. comosum Variegated Group เป็นว่านเศรษฐีเรือนในที่มีขอบใบสีขาว เส้นกลางใบสีเขียว มีชื่อพ้องว่า ‘Picturatum’
3) ว่านเศรษฐีเรือนใน C. comosum Vittatum Group เป็นว่านเศรษฐีเรือนในที่มีขอบใบสีเขียว เส้นกลางใบสีขาว ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกที่มีการนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทยที่มีลักษณะประจำพันธุ์ที่ลายเส้นสีขาวอยู่ด้านในจึงเรียกชื่อตามลักษณะที่พบและกลายเป็นชื่อตัวแทนของพืชชนิดนี้ทั้งหมด คือ ว่านเศรษฐีเรือนใน


สายพันธุ์ว่านเศรษฐีกลุ่มนี้ที่พบปลูกเลี้ยง
Chlorophytum comosum ว่านเศรษฐีเรือนแก้ว ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันวาว เป็นแถบยาว ใบเป็นร่อง ตั้งตรงเป็นพุ่ม แข็งแรง ก้านช่อดอกสีเขียวเข้ม ดอกย่อยขนาดเล็กสีขาว ติดเมล็ดง่าย
Chlorophytum comosum ‘Golden Glow’ ใบมีสีเขียว แผ่นใบแผ่กางขอบใบมีสีเขียวเข้มเป็นแถบกว้าง บริเวณเส้นกลางใบมีสีขาวครีมถึงเขียวอมเหลือง ใบโค้งอ่อนทำให้ทรงพุ่มดูอ่อนช้อย


กลุ่มขอบใบสีขาว กลางใบสีเขียว (Variegated group)
ว่านเศรษฐีจักรพรรดิ Chlorophytum comosum ‘Ocean’เป็นชื่อที่ใช้เรียกใหม่แทน เศรษฐีญี่ปุ่น ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากมีพืชหลายชนิดที่เราพบเห็นพันธุ์ดั้งเดิมที่มีขนาดโดยทั่วไปแล้วเป็นปกติ แล้วเมื่อมีพันธุ์ใหม่ที่มีขนาดใหญ่มากกว่าปกติมักเติมคำว่า "จักรพรรดิ์" เช่น เดหลีจักรพรรดิ์ ฟิโลฯซานาดูจักรพรรดิ์ เป็นต้น ดังนั้นกระผมจึงขอเรียกชื่อพืชชนิดนี้ในภาษาไทยใหม่ว่า ว่านเศรษฐีจักรพรรดิ์
เป็นพันธุ์ที่เพิ่มได้นำมาแนะนำในตลาด ใบมีสีเขียวเป็นแถบกว้าง ขอบใบสีขาว ใบเป็นแถบกว้าง 3.5-5 เซนติเมตร ยาว 60-70 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว สีเขียวเข้ม


Chlorophytum comosum ‘Variegatum’ ใบมีสีเขียวเป็นแถบกว้าง ขอบใบมีสีขาวถึงขาวครีม ยาว 30-60 เซนติเมตร


กลุ่มขอบใบสีเขียว กลางใบสีขาว (Vittatum group)
Chlorophytum comosum ‘Vittatum’ ใบมีสีเขียว บริเวณกลางใบเป็นแถบสีขาว เจริญเติบโตเร็ว ก้านช่อดอกยาว สีเหลืองอ่อน
Chlorophytum comosum ‘Milky Way’ ใบมีสีเขียว บริเวณกลางใบเป็นแถบสีขาวถึงขาวครีม เป็นแถบกว้าง และสีสดใส ก้านช่อดอกสีเขียวอ่อน
Chlorophytum comosum ‘Picturatum’ ใบมีสีเขียวเข้ม บริเวณกลางใบเป็นแถบสีขาวถึงเขียวอมเหลือง เป็นแถบแคบ ก้านช่อดอกสีขาวถึงเหลืองอ่อน


นอกจากนี้ยังมีอีกสายพันธุ์ที่ยังไม่สามารถจำแนกชนิดได้ โดยใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Chlorophytum ‘Chrolotte’ เรียกว่า ว่านเศรษฐีเรือนแก้ว ว่านเศรษฐีเรือนนอกใบใหญ่ ถิ่นกำเนิดประเทศไทย แต่บางที่อาจมากจากบอร์เนียว (Borneo) สูง 15-20 เซนติเมตร เจริญเป็นกอ แตกพุ่มช้า ใบรูปไข่ถึงรูปหอกกว้าง ขอบใบสีเขียวเข้ม กลางในเป็นแถบกว้างสีขาว ขาวครีบ จนถึงเขียวอ่อน ช่อดอกมีขนาดเล็กสีขาว ชอบแสงแดดปานกลางถึงรำไร ขยายพันธุ์โดยการแยกกอ และเพาะเมล็ด

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ใบเงิน ใบทอง ใบนาก

เป็นไม้พุ่มสูง 50-100 เซนติเมตร หรืออาจสูงได้มากกว่านี้ ใบรูปรีแกมไข่ ปลาบใบแหลม ยาว 10-15 เซนติเมตร พื้นใบสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกจริงเป็นรูปหลอด กลีบดอกแยกออกเป็น 2 ส่วน
ใบเงินใบทองที่ปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ Graptophyllum pictum และ Pseuderanthemum autropurpureum ซึ่งทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยคือสีดอก ชนิดแรกจะมีดอกสีม่วงแดง หรอ บานเย็น ส่วนชนิดหลังจะมีดอกสีขาวจุดประสีม่วง Graptophyllum pictum จะเป็นพุ่มได้เร็วกว่า
Graptophyllum pictum
ใบนากสามกษัติย์

ใบทอง (เก่า)

ใบนากชมพู


Pseuderanthemum autropurpureum
ใบทองประกายแสด


ใบนากม่วง


ใบทอง


ใบเงิน


ใบทองคำขาว (ทองใหม่)


เข็มม่วง, เข็มพญาอินทรี

ฤาษีผสม

ฤาษีผสม
เป็นไม้พุ่มสูง 20-60 เซนติเมตร หรืออาจสูงได้ถึง 1 เมตร เป็นไม้อวบน้ำ ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขาได้ดี ใบเดียว มีหลายแบบ ตั้งแต่รูปไข่ รูปไข่แกมขอบขนานถึงรูปรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักมน แผ่นใบหยิกย่นหรือมีรอยหยักตามแนวเส้นใบ มีขนสั้นนุ่มปกคลุม มีหลายสีปนกันในแต่ละพันธุ์ มักจะมีสีสันสดใสเมื่อได้รับแสงเหมาะสม ดอกออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวอมม่วงถึงม่วง เมื่ออกดอกแล้วต้นมักโทรมและตายไป ควรตัดช่อดอกทิ้งตั้งแต่ยังเล็ก หรือตัดแต่งกิ่งเมื่อต้นโทรมหรือกิ่งยืดยาวเกินไป
ฤาษีที่ปลูกเลี้ยงสามารถแยกได้ดังนี้
ฤๅษีผสมล้มลุก (annual coleus) เป็นฤๅษีผสมที่มีลักษณะทรงต้นเตี้ย ตั้งตรง และแตกกิ่งก้านได้ดี เหมาะสำหรับการปลูกเป็นไม้กระถาง และประดับแปลง เพราะใบมีสีสันสดใส มีหลายลายให้เลือกมากในชุดเดียวกัน และดูแลรักษาง่าย มักขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดเป็นส่วนใหญ่
แต่ข้อเสียของฤๅษีผสมกลุ่มนี้คือ จะออกดอกได้ง่าย และออกดอกเร็ว จึงต้องมีการเด็ดช่อดอกออกอยู่อย่างเสมอ ถ้าปล่อยประละเลย หรือปล่อยให้มีช่อดอกบานมากๆ จะทำให้ต้นจะโทรมเร็ว และตายได้

ฤๅษีผสมอายุยืน (perennial coleus) ฤๅษีผสมกลุ่มนี้จะมีทั้งพันธุ์ต้นสูง และเตี้ย ลำต้นตั้งตรงและทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน แตกกิ่งก้านได้ดี ใบมีสีสันสดใส ดูแลรักษาง่าย มักขยายพันธุ์โดยการปักชำ ฤๅษีผสมกลุ่มนี้ไม่ค่อยออกดอกง่าย และบ่อยนัก จึงทำให้ต้นไม่โทรมเร็ว แต่ถ้าออกดอกแล้วต้นก็ไม่ตายยังสามารถเจริญเติบโตต่อได้ แต่จะมีลายหรือสีให้เลือกน้อยในชุดเดียวกัน






วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553

ฉบับที่ 1 แนะนำตัวเอง


สวัสดีผู้อ่านบล็อกนี้ทุกท่าน ต้องขอแนะนำตัวเองก่อนนะครับ ผมชื่อ สันต์ ไกยนาม อยากหัดลองเขียนบล็อก เพื่อนำเสนอความรู้การปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่ผมได้คลุกคลี่ มาตั้งแต่อายุ 16 ปี เปิดหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตก็มักจะมีข้อมูลที่ไม่พบ ไม่ถูกต้องบ้าง เกี่ยวกับพืชที่ผมสนใจ หรือบางทีก็ไม่สามารถหาเจอได้ ก็เลยคิดว่าบล็อกนี้น่าจะเป็นอีกหนทางเพื่อเผยแพร่ความรู้ หรือแลกเปลี่ยนกับผู้รู้อื่น เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างสูงสุด

ผมสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้นและปลายจากโรงเรียนชุมแพศึกษา อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น หลังจากนั้นได้มาศึกษาต่อที่สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตลำปาง (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง) อ.เมือง จ.ลำปาง ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงพืชศาสตร์ (ปวส.) สำเร็จการศึกษาในปี 2543 เป็นนักศึกษาที่มีระดับผลการเรียนดีเด่น และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาพืชศาสตร์ วิชาเอกพืชสวน ในปี 2545 ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง (เหรียญทอง)

หลังจากสำเร็จการศึกษาในปีพ.ศ. 2545 แล้วก็ได้ถูกทาบทามให้เป็นอาจารย์ (อัตราจ้าง) โดยผู้บริการในขณะนั้น โดยมีหล้าที่หลักคือ ดูแลงานฟาร์มไม้ดอกไม้ประดับของแผนกไม้ดอกไม้ประดับ สาขาวิชาพืชศาสตร์ หลังจากนั้นอีกหนึ่งปีจึงเริ่มได้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาสาขาพืชศาสตร์ ระดับ ปวส. และก็ได้เริ่มสอนในรายวิชาต่างๆ ที่อาจารย์ประจำวิชาร้องขอ จนมาขอตกลงปลงใจในรายวิชาที่ตนเองถนัดและชอบ คือ วิชาพืชสวนประดับ ไม้ดอกการค้า ไม้ดอกกระถาง หลักพืชสวน และโครงการพิเศษพืชศาสตร์ ตลอดระยะเวลาที่ทำงานในตำแหน่งอาจารย์ (ซึ่งมีภาระที่ใหญ่มาก) ได้ถูกมอบหมายให้ทำงานสนับสนุนอื่นร่วมด้วยเสมอ (แต่ไม่เพิ่มเงินเดือนนะครับ) ซึ่งบางภาระก็หนักมาก หรือบางภาระมีปัญหากับการสื่อสารกับผู้บริหารระดับสูง (แต่ไม่เคยบอกว่า "ทำไม่ได้ครับ”)

ด้วยความที่ผมนั้นเป็นคนที่ค่อนข้างทะเยอทะยานสูง (ในเรื่องที่และในทางที่ดีด้วยนะครับ) ก็เลยเกิดความคิดขึ้นมา 2 อย่าง โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าต้องสำเร็จภายใน 5 ปี ความคิด 2 อย่างนั้นคือ 1) ขอมีตำราเป็นของตัวเอง พิมพ์ด้วยชื่อตัวเอง โดยระบบสำนักพิมพ์ และ 2) การมีสวนเป็นของตัวเอง (เพราะเป็นคนชอบปลูกต้นไม้มาตั้งแต่เด็ก และอยากมีสวนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้) ในระหว่างที่ทำงานอยู่นั้นก็ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ทุกอย่างที่สามารถทำมาเพื่อให้ได้กับความฝัน 2 สิ่งนี้ (ฝันมากไปป่าว) ต้นไม้ที่ผ่านการปลูกจากผม ผมคิดว่าคงมีไม่น้อยกว่า 500 ชนิดได้ (แต่อาจจะไม่มีต้นเหลือแล้วก็ได้) ก็อยากปลูกเพื่อให้รู้จักว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง มีลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร ออกดอกยากไหม ปลูกเลี้ยงยากไหม อะไรบ้างที่คอยควบคุมการเจริญเติบโต เป็นต้น หลังจากการสั่งสมประสบการณ์การปลูกต้นไม้มาอย่างโชกโชน บวกกับความทะเยอทะยานที่ได้ตั้งไว้ก็เลยใช้เวลาว่างหลังเลิกงาน ตอนค่ำ ตอนดึก วันหยุดต่างๆ เท่าที่สามารถฉกฉวยได้ เพื่อมาเตรียมต้นฉบับข้อมูลเนื้อหา และรูปภาพประกอบ จนกระทั่งปีพ.ศ. 2549 ต้นฉบับครั้งแรกก็ได้ออกมา เพื่อนำมาอ่านตรวจทานหาคำสะกดผิดถูกจนแน่ใจ ให้ภาษาอื่นการใช้คำฟุ่มเฟือย เป็นจำนวนถึง 5 รอบ จนพ.ศ. 2550 ได้นำต้นฉบับไปส่งกับสำนักพิมพ์สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ ที่กรุงเทพมหานครด้วยตัวเอง ความฝันก็เกือบสิ้นสลาย เมื่อต้องใช้เวลาในการจัดรูปแบบและตรวจทานอีกรอบโดยใช้เวลารวมเกือบๆ 1 ปีเต็ม ในปีพ.ศ. 2551 หนังสือเล่มแรกในชีวิตของผมก็ได้ตีพิมพ์ขึ้นโดยใช้ชื่อว่า ไม้ดอกกระถาง